หัวข้อที่ 4. การตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ส่งออก |
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
การตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ส่งออก มีรายละเอียดดังนี้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 1 การเคลื่อนย้ายตามข้อกำหนดของอนุสัญญาบาเซล |
|
|
|
ของเสียที่จะเคลื่อนย้ายดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของอนุสัญญาบาเซล หากว่าเป็นของเสียต่อไปนี้
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
- ของเสียตามบัญชีรายชื่อของเสียอันตรายในภาคผนวกท้ายอนุสัญญาบาเซล หรือ
- ของเสียตามรายชื่อของเสียที่ต้องแจ้งตามกฎหมายของประเทศผู้นำเข้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ให้ดำเนินการติดต่อกับหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออกเพื่อรับแบบใบแจ้ง (Notification form) แบบใบกำกับการเคลื่อนย้าย (Movement Document) และรายละเอียดเกี่ยวข้องอื่นๆ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 2 การเคลื่อนย้ายขัดต่อข้อจำกัด ข้อห้าม กฎหมายของประเทศที่เกี่ยวข้อง |
|
|
|
ตรวจสอบว่าการเคลื่อนย้ายดังกล่าวขัดต่อข้อจำกัด/ข้อห้ามของอนุสัญญาบาเซล และกฎหมายของประเทศที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
- ประเทศผู้นำเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาหรือไม่ หรือได้จัดทำความตกลงทวิภาคี พหุภาคี หรือความตกลงระดับภูมิภาค
-
การเคลื่อนย้ายข้ามแดนโดยข้อตัดสินใจของที่ประชุมใหญ่ภาคีอนุสัญญาบาเซลหรือไม่ เช่น ข้อตัดสินใจที่ II/12 ห้ามประเทศกลุ่ม OECD ส่งของเสียอันตรายหรือของเสียอื่นไปยังประเทศกลุ่ม Non-OECD เพื่อการกำจัดขั้นสุดท้ายและห้ามการส่งไปเพื่อการแปรสภาพหรือนำกลับมาใช้ใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 และข้อตัดสินใจที่ III/1 ห้ามประเทศที่มีรายชื่อตามภาคผนวก 7 (ประเทศในกลุ่ม OECD, EC และ Liechtenstein) ท้ายอนุสัญญาบาเซล ส่งของเสียอันตรายไปยังประเทศนอกกลุ่มรายชื่อตามภาคผนวก 7 เพื่อการกำจัดขั้นสุดท้าย (ตามภาคผนวก 4A ท้ายอนุสัญญาบาเซล) และห้ามส่งของเสียอันตรายตามภาคผนวกท้ายอนุสัญญาบาเซล ไปเพื่อการแปรสภาพหรือนำกลับมาใช้ใหม่ (ตามภาคผนวก 4B ท้ายอนุสัญญาบาเซล) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541
-
ประเทศผู้นำเข้ามีการห้ามการนำเข้าของเสียที่จะเคลื่อนย้ายหรือไม่ หรือเป็นภาระของประเทศในบริเวณพื้นที่ใต้เส้นละติจูด 60 องศาใต้
-
ของเสียดังกล่าวไม่สามารถกำจัดได้ในประเทศผู้ส่งออกหรือไม่ หรือของเสียดังกล่าวสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการแปรสภาพหรือนำกลับมาใช้ใหม่ในประเทศผู้นำเข้าได้หรือไม่
-
อุปกรณ์การกำจัด หรือการแปรสภาพ/นำกลับมาใช้ใหม่ของผู้รับกำจัด จะต้องได้รับการอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายของประเทศผู้นำเข้า
-
การเคลื่อนย้ายข้ามแดน รวมถึงการขนส่ง การกำจัด และการเก็บรวบรวมของเสียได้รับการดำเนินการโดยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่
-
ข้อจำกัด/ข้อห้ามการส่งออกของประเทศผู้ส่งออก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 3 การทำสัญญา |
|
|
|
ทำสัญญา (Contract) ระหว่างผู้ส่งออกกับผู้รับกำจัด
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 4 จัดทำประกันภัย (Insurance) หรือหลักประกันทางการเงิน (Financial Guarantee) |
|
|
|
จัดทำประกันภัย หรือหลักประกันทางการเงินอื่น สำหรับการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดน ตามข้อกำหนดของกฎหมายในประเทศเพื่อชดเชยและคุ้มครองการนำของเสียนั้นกลับประเทศผู้ส่งออก และการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของอนุสัญญาบาเซล ทั้งนี้ อาจมีการจัดทำประกันภัย หรือหลักประกันทางการเงินอื่น เพื่อคุ้มครองความเสียหายจากการเคลื่อนย้ายข้ามแดนแยกต่างหากอีกฉบับ หรือตามที่กฎหมายกำหนด
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 5 กรอกข้อมูลรายละเอียดในใบแจ้ง (Nitification form) |
|
|
|
กรอกข้อมูลรายละเอียดในใบแจ้ง อย่างชัดเจน สมบูรณ์ในภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้นำเข้า (ควรใช้ภาษาซึ่งสามารถสื่อได้กับทุกประเทศที่เกี่ยวข้อง) ซึ่งใบแจ้งแต่ละใบ อาจจะครอบคลุมการเคลื่อนย้ายของเสียเที่ยวเดียวหรือหลายเที่ยวในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี แต่ต้องเป็นของเสียชนิดเดียวกัน มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีเหมือนกัน การส่งออกและนำเข้าไปยังผู้กำจัดรายเดียวกันโดยผ่านด่านศุลกากรเดิม และควรจัดทำสำเนาให้กับผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออก นำเข้า และที่ถูกนำผ่านแดน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 6 ยื่นเอกสาร ใบแจ้ง สัญญา ประกันภัย หรือหลักประกันทางการเงิน |
|
|
|
ยื่นเอกสาร ใบแจ้ง สัญญา ประกันภัย หรือหลักประกันทางการเงินรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้กับหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออกล่วงหน้าก่อนการเคลื่อนย้ายของเสียอย่างน้อย 2 เดือน เพื่อพิจารณาตรวจสอบซึ่งจะส่งต่อให้กับหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 7 รอคำยินยอมจากหน่วยงานผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง |
|
|
|
ผู้ส่งออกต้องคอยตรวจสอบติดตามผล เนื่องจากบางกรณีที่ผู้ส่งออก อาจต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออกตามการร้องขอ หรือผู้ส่งออกอาจได้รับคำตอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้นำเข้าและ/หรือประเทศนำผ่านแล้ว แต่หน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออกยังไม่ได้รับ ผู้ส่งออกจะต้องสำเนาคำตอบดังกล่าวให้ด้วย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 8 รอการพิจารณาจากหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออก |
|
|
|
รอการพิจารณาอนุญาตการส่งออกจากหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออก ซึ่งจะต้องรอคำตอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้นำเข้า และประเทศที่ถูกนำผ่านแดน [คำตอบของประเทศที่ถูกนำผ่านแดนอาจไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เมื่อพ้น 60 วัน จะถือเป็นยอมรับโดยการนิ่งเฉย (Tacit consent)]
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 9 จัดทำใบกำกับการเคลื่อนย้าย (Movement Document) |
|
|
|
เมื่อได้รับอนุญาตให้ส่งออกจากหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออกแล้ว ผู้ส่งออกจะต้องกรอกข้อมูลรายละเอียดในใบกำกับการเคลื่อนย้าย อย่างสมบูรณ์เพื่อใช้แนบไปกับการขนส่งของเสียอันตรายในแต่ละครั้ง (อาจแนบสำเนาใบแจ้งไปด้วย) จากการดำเนินการติดตามการเคลื่อนย้ายข้ามแดน
|
|
|
|
|
|
|